อุปนิสัย และการเลี้ยงดูกระรอก
ก่อนจะเริ่มเลี้ยงกระรอกเราต้องทำความเข้าใจก่อนว่ากระรอกชอบไต่ๆๆๆๆ
เรารับได้หรือไม่หากจะต้องมีสิ่งมีชีวิตน้อยๆมาเกาะที่ตัวเรา ซึ่งอาจทำให้ตัวเป็นรอยไม่มากก็น้อย
และกระรอกไม่เหมือนแฮมสเตอร์ หรือกระต่ายที่จะมาปล่อยไว้แต่ในกรงให้อาหารเช้าเย็น เราต้องเอาใจใส่เขามากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น
ซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่ทำให้เราผูกพันกับกระรอกมากกว่าสัตว์เลี้ยงชนิดอื่นๆ หากคิดว่ารับได้เราก็มาดูลักษณะนิสัยเจ้าตัวน้อยกันเลย
เสน่ห์ของกระรอกที่ทำให้หลายๆคนหลงรักนั้นก็คือ
ความอยากรู้อยากเห็น ช่างสงสัย และขี้อ้อน มีคำถามเข้ามาบ่อยมากๆว่า “ พี่เลี้ยงกระรอกลืมตาแล้วมันจะเชื่องจริงหรอ” “ หนูอยากได้แบบยังไม่ลืมตา ” “ เอาตัวเล็กๆนะเดี่ยวมันกัด
”
อยากให้ทำความเข้าใจสักนิดว่า
ลูกสัตว์ทุกตัวมีความระแวงเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นแฮมสเตอร์ กระต่าย หรือแม้แต่ลูกหมา
ลูกแมว มันอยู่ที่ว่าเราดูแลเค้าอย่างไร จับเค้าอย่างไร มือที่สัมผัสแฝงไปด้วยความรุนแรง
หรือความรัก เค้าสัมผัสได้ทั้งหมด ขอตอบตรงนี้เลยว่าไม่จริงที่เลี้ยงกระรอกที่ลืมตาแล้วไม่เชื่อง ถ้ากระรอกอายุไม่เกิน 4 เดือนไม่ว่าเปรียวแค่ไหนเราสามารถฝึกได้
โดยไม่ต้องตัดฟัน หรือวางยา เพียงแต่ว่า เราใช้ความเข้าใจ
ค่อยๆที่จะทำให้เค้าเชื่อใจ และผูกมิตร รับรองว่าเชื่อง
เพราะทุกอย่างที่คุณพูดมาเราลองแล้ว เชื่องทุกตัว ยกเว้นกระรอกที่เกิน 4 เดือนอันนี้ไม่รับประกัน
เพราะเค้าจะเริ่มหวงถิ่น หวงตัว และไว้ใจคนยากมากขึ้น
บางคนเอากระรอกมาเลี้ยงตั้งแต่ยังไม่ลืมตา
สรุปแล้วก็กัดอยู่ดี จริงๆแล้วกระรอกจะจำเราช่วงอายุ 35-60
วัน
แม้ว่าเราเลี้ยงตั้งแต่เล็กๆ แต่ถ้าช่วงนี้เราไม่ใส่ใจก็กัดอยู่ดี
กระรอกหลังกระรอกลืมตาได้ประมาณ 1 อาทิตย์ฟันล่างจะเริ่มขึ้น
จะเริ่มเข้าหาคนได้มากขึ้น สามารถร้องเรียกได้เมื่อหิว และเริ่มแทะอาหารนิ่มๆได้
ควรเริ่มให้กระรอกแทะผลไม้บ้าง นมเป็นสิ่งสำคัญอย่าหยุดกะทันหันหากกระรอกยังอายุไม่ถึง
2
เดือน
นมที่ไม่ควรเป็นนมวัว ควรเป็นนมแพะ หรือสำหรับลูกสัตว์ แต่ปัญหาที่เกิดก็คือ ลูกกระรอกไม่กิน
บางทีจึงจำเป็นต้องใช้ซิลิแล็กซ์ เพื่อเพื่อให้ลูกกระรอกกิน และคุ้นมือเรา ประมาณ 3-4 วันกระรอกจะคุ้นมือคนเลี้ยง
และยอมกินนมตามที่ผู้เลี้ยงให้ กระรอกบางตัวกินซิลิแล็กซ์แล้วไม่เป็นไร แต่บางตัวกินแล้วท้องเสีย
อันนี้ต้องงดเด็ดขาด บางครั้งอาจนำกล้วยนำว้านิ่มๆบดรวมกับซิลิแล็กซ์เพื่อป้อนลูกกระรอก
ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเสียได้ และได้วิตามินจากกล้วยด้วย การป้อนนมควรป้อนอย่างน้อยวันละ
4
ครั้ง
อย่าป้อนบ่อยเกินไป เพราะจะทำให้ท้องอืด และหากป้อนน้อยไป กระรอกจะหิวเกินไป
ปริมาณมาก ทำให้ท้องอืดได้เช่นกัน อย่าลืมเช็ดก้นกระตุ้นการขับถ่ายอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
พอกระรอกเริ่มโตขึ้นมาอีกหน่อย
ประมาณ 40
วัน
เราต้องบังคับกินกล้วยก่อนกินนม เพราะไม่งั้นไม่ยอมกินแน่ๆ กระรอกช่วงนี้จะเริ่มดื้อ
เริ่มเล่น และเริ่มซน และเป็นช่วงกำลังจำด้วย หากกระรอกได้รับความกระทบกระเทือนจิตใจช่วงนี้
เช่น โดนทำร้าย กระรอกจะจำและระแวง ควรเริ่มให้กระรอกกินผลไม้ชนิดอื่นๆ เช่นส้ม (
การให้ส้มก็ต้องระวัง เพราะอาจทำให้ลูกกระรอกท้องเสียได้เช่นกัน หากส้มบูด
หรือเสียระหว่างวัน ) อาจคั้นเป็นน้ำป้อนก็ได้
กระรอกอายุ
2
เดือน
หรือ 60
วัน
ช่วงนี้เป็นวัยที่ซนๆๆๆๆๆ และเริ่มแทะได้เราเริ่มจากให้แทะเมล็ดทานตะวันก่อนก็ได้ค่ะ
เค้าจะนั่นกินเป็นชั่วโมงๆ เลย อย่าหวังดีช่วยแกะให้เพราะเค้าจะขาดประสบการณ์ในการใช้ชีวิต
และการแทะก็เป็นการลับฟันไปในตัวด้วย อาจให้ผลไม้แข็งขึ้นมาอีกนิด เช่นฝรั่ง ห้ามให้แตงกวา
แตงโม และตระกูลแตงเด็ดขาด อาจทำให้กระรอกท้องเสียค่ะ อาจเสริมด้วยอาหารกระต่าย
เมล็ดข้าวโพด แล้วแต่ความชอบของกระรอกค่ะ
กระรอกอายุ
3
เดือน
หรือ 90
วัน
กระรอกชวงนี้เริ่มผลัดขน บางตัวขนอาจค่อยๆผลัด แต่บางตัวหลุดเยอะมาก (กลายเป็นหนูบ้านไปเลย )
ไม้ต้องตกใจ ขนเค้าจะขึ้นเต็มที่เมื่ออายุ 6 เดือน กระรอกจะสวยไม่สวยก็จะอยู่ในช่วงนี้แหละค่ะ
หางกระรอกจะฟูหรือไม่ฟูขึ้นกับอาหารที่เราให้ และนิสัยกระรอกในช่วงอายุนี้ จะซนมากกว่าเดิม
อยากรู้อยากเห็น เราต้องระวังมากๆ เพราะความอยากรู้อยากเห็นนี่หละค่ะ ที่ทำให้เราต้องเสียกระรอกน้อยที่น่ารักของร้านไป
1
ตัว
เขาชื่อนู๋แดง หนูแดงเป็นกระรอกรอกน่ารัก เข้ากันได้กับทุกคน ไม่ต้องล่ามโซ่ ปล่อยวิ่งได้เลยไม่ค่อยไปไหน
นอกจากนอนบนกำแพงกลางร้าน และจะสิ่งมารับแขกทุกครั้งเวลามีคนเข้าร้าน
แต่ก็เพราะเราไว้ใจเค้ามากเกินไป เค้าก็คิดเสมอว่าหากเป็นอะไรเราก็ต้องช่วยเค้าอยู่แล้ว
แต่แล้ววันหนึ่งเค้าแอบขึ้นฝ้าของร้าน แล้วพอดีว่าบนฝ้ามีแมว (ไม่รู้ว่ามาจากไหน และมาได้ยังไง
) เค้าร้องเรียกเราช่วย แต่กว่าเราจะเปิดฝ้า แล้วพาเค้าลงมาได้ก็นานพอดู
เพราะบนฝ้ามืดมาก ไฟฉายก็ไม่มี และเหยียบไม่ได้เลย เหยียบได้แต่คาน
เพราะเป็นแผ่นฝ้าทั้งหมด เค้าเจอเราเค้าดีใจมาก และนอนที่มืออย่างหมดแรง
เราพยายามป้อนยาแก้ปวดให้เค้าก็กิน และพยามที่จะมีชีวิตอยู่กับเรา
อีก 2
วันถัดมา
เราตัดสินใจพาเค้าไปหาหมอ แม้รู้ว่าพาไปเค้าก็คงจากเราไปอยู่ดี ก่อนที่เค้าจะตาย เราจำได้ว่าเค้าปีนออกมาจากตระกร้ามาอยู่บนมือเราตลอด
จนถึงบ้าน แล้วคืนนั้นเค้าก็จากไป เลยอยากให้เป็นอุทาหร
ไมว่าเค้าจะสนิทกับเราสักแค่ไหน ด้วยความอยากรู้อยากเห็น และความซน
อาจเกิดสิ่งไม่คาดคิดขึ้น
อย่าช่วยเค้าจนเค้าขาดความระวังตัว
เพราะนู๋แดง โตมาด้วยแวดล้อมของคนที่รักเค้า เล่นกับเค้า และปกป้องเค้าตลอด ทุกครั้งที่ทำของตกเรายังเก็บให้เลย
นอนด้วยกันทุกคืน มันทำให้เค้าคิดว่า ไม่ว่าเค้ามีอันตรายเราก็ต้องช่วยเค้าอยู่ดี
เพราะทุกครั้งมันเป็นเช่นนั้น ตอนนี้เลยปฏิญาณไว้ว่าหากไม่ได้อยู่ในห้องนอนจะไม่ปล่อยเล่น
หากปล่อยเล่นก็ต่อเมื่อเราอยู่เท่านั้น ไม่งั้นอยู่ในกรงจะปลอดภัยที่สุด เพราะกลัวจะเสียเค้าไปอีก
เข้ามาต่อเรื่องกระรอก นอกเรื่องไปยาว
กระรอกอายุ 4
เดือนขึ้นไป
จะเริ่มไม่รับคนแปลกหน้า จะรักเฉพาะเจ้าของ และกินผลไม้ได้แทบทุกอย่าง
แม้กระทั่งเปลือกไม้ เราอาจเสริมหนอนนก (แต่อย่าให้เยอะเกิน เดี๋ยวท้องอืด )
อาหารกินเล่น เพื่อทดแทนสิ่งที่เขาขาดหายไปจากธรรมชาติ สำหรับกระรอกไซส์กลางขึ้นไปควรใช้โซ่ที่เป็นโซ่สเตนเลส
เพราะโซ่กระรอกทั่วไปไม่สามารถต้านแรงกระรอกได้ อาจหลุดขาดเมื่อกระรอกแทะ
Cradit by Thanasak Aong Whannathong
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น