วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556
นมทดแทนในลูกกำพร้า
นมทดแทนในลูกกำพร้า
สิ่งที่เราควรจะรู้ก่อนการเลือกนมทดแทนนมแม่ คือความต้องการของลูกสัตว์ ดังนี้
ตารางที่ 1 ยกตัวอย่างความต้องการสารอาหารของลูกสัตว์กำพร้าก่อนหย่านมบางชนิด
ชนิดสัตว์
|
ของแข็ง(%)
|
โปรตีน (%solid)
|
ไขมัน(%solid)
|
คาร์โบไฮเดรต(%solid)
|
Hedgehog
|
21.6
|
33.3
|
46.3
|
9.3
|
Rabbit
|
31.2
|
32.0
|
49.0
|
6.0
|
Grey Squirrel
|
39.6
|
18.7
|
62.5
|
9.4
|
Ferret
|
23.5
|
25.5
|
34.0
|
16.2
|
Water Shrew
|
35.0
|
28.6
|
57.1
|
0.3
|
Mouse
|
29.3
|
31.0
|
45.0
|
10.0
|
จากตารางก็จะเห็นได้ว่า สัตว์แต่ละชนิดนั้นมีความต้องการที่แตกต่างกันไป แล้วจะเลือกอาหารแบบใดให้จึงจะเหมาะสำหรับทดแทนลูกกำพร้า หรือหย่านมเร็วกว่ากำหนด
ที่นี้ลองมาพิจารณาแหล่งอาหารทดแทนนมแม่ ที่เราเคยได้ยินมา และที่ใช้กันอยู่ ในนี้ผมรวมเอานมแพะ และซีรีแลคสำหรับเด็กที่ใช้กันบ่อยๆ เข้าไปด้วย
ตารางที่ 2 แสดงสารอาหารในแหล่งอาหารต่างๆ
ชนิดอาหาร
|
ของแข็ง(%)
|
โปรตีน (%solid)
|
ไขมัน(%solid)
|
คาร์โบไฮเดรต(%solid)
|
นมแพะ
|
12
|
22
|
32
|
39
|
Esbilac
|
97
|
33.2
|
43.0
|
15.8
|
Multi milk
|
97
|
30.0
|
55.0
|
น้อยมาก
|
Lamlac
|
60
|
24
|
24
|
-
|
Cerelac
|
-
|
15
|
9.0
|
68.62
|
พอจะเห็นข้อแตกต่างกันไหมครับ เราควรจะเลือกสูตรที่มีความใกล้เคียงกับความต้องการของลูกสัตว์ของเรา
Esbilac เป็นนมทดแทนสำหรับลูกสุนัขที่กำพร้า ยังมีอีกตัวที่นิยมคือ KMR หรือ Kitten Milk Replacer ใช้ทดแทนในแมว ซึ่งสามารถนำมาใช้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในกลุ่มพวกกินแมลงได้ดี สองชนิดนี้นิยมเลือกเป็นชนิดแรกๆ หาซื้อตามคลินิกรักษาสัตว์ได้ ส่วน Multi milk และ Lamlac ไม่แน่ใจว่าเมืองไทยมีหรือไม่ ส่วนนมแพะนั้นมีปริมาณโปรตีนและไขมันต่ำกว่าความต้องการ แต่ยอมรับในการนำมาใช้ได้ โดยต้องผสมกับไวตามินหรือแร่ธาตุเสริมอื่นๆ ซึ่งจะกล่าวต่อไป บางบริษัทได้นำมาปรับปรุงสูตรเพิ่มเติม จนเป็นนมทดแทนสำหรับลูกสัตว์โดยเฉพาะก็มี ส่วนอาหารทดแทนสำเร็จที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น มีส่วนผสมของไวตามิน แร่ธาตุแตกต่างกันไป
ส่วนซีรีแลคนั้น ไม่เหมาะสำหรับในการนำมาเลี้ยงลูกสัตว์กำพร้าเลย เนื่องจากอะไร...
เพราะปริมาณโปรตีน ไขมันต่ำกว่าความต้องการมาก และที่สำคัญคือปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงกว่าความต้องการมหาศาล และเป็นสาเหตุให้ลูกสัตว์มีอาหารย่อยอาหารไม่ดี และท้องเสียทั้งแบบไม่ติดเชื้อ และติดเชื้อแทรกซ้อนได้ เนื่องจากองค์ประกอบส่วนใหญ่ของซีรีแลคนั้นมาจากแป้งข้าว หรือข้าวสาลี และมีหางนม น้ำตาลซูโครส ปาล์ม น้ำมันข้าวโพด แคลเซียมคาร์บอเนต ไวตามินต่างๆ ธาตุเหล็ก วานิลลิน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ซีรีแลคสามารถนำมาเป็นอาหารเสริมหลังจากหย่านมไปแล้วเท่านั้น และก็ยังเห็นว่าไม่จำเป็นสำหรับสัตว์
ในการใช้นมแพะนั้น แนะนำให้ผสมรวมกับสารเสริมอื่นๆ(Additives for milk replacer) ซึ่งปัจจุบันทำขึ้นมาโดยเฉพาะ เช่นAbidec เป็นไวตามินรวมสำหรับผสมนมแพะโดยตรง บ้านเรายังไม่มี หรือจะผสมกับโปรไบโอติก เพื่อป้องกันอาการท้องเสีย ช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตที่ดี พวกเอนไซม์ รวมทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส ซึ่งผลิตมาเฉพาะ และมีวางจำหน่ายแล้วทั้งนั้น
หากลูกสัตว์หย่านมเร็วมาก และได้รับนมน้ำเหลือง(Colostrum) ไม่เพียงพอ... เอ๊ะ อะไรคือนมน้ำเหลือง แล้วนมน้ำเหลืองมีคุณค่าอะไร จำเป็นด้วยหรือ...
นมน้ำเหลือง คือน้ำนมที่ขับออกมาในระยะแรกๆ ของการให้นม จะยาวสั้นแล้วแต่ชนิดสัตว์ บางชนิดไม่ทันข้ามวัน เช่นพวกสัตว์เคี้ยวเอื้อง บางชนิดข้ามเดือน ในนมน้ำเหลืองนั้น นอกจากมีคุณค่าทางอาหารที่สมบูรณ์ที่สำคัญต่อการมีชีวิตรอดของลูกสัตว์อย่างยิ่งยวดแล้ว ในนั้นยังมีภูมิคุ้มกันต่อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ถ้าหากลูกสัตว์ไม่ได้รับ หรือรับไม่พอเพียง ก็จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคและตายได้ง่าย...
ในลูกสัตว์ที่ได้รับนมน้ำเหลืองไม่พอนั้น ในนมแพะหรืออาหารที่กล่าวมาอื่นๆ จึงอาจจะต้องเพิ่มน้ำนมเหลืองทดแทนเข้าไป ที่ผลิตกันออกมาได้แก่ Prolam เป็นนมน้ำเหลืองสำหรับสัตว์กินพืช และ Kitten colostrum substitute สำหรับสัตว์พวกกินแมลงและกินเนื้อ บ้านเราก็คงจะยังไม่มี หรือหายากเต็มที
แต่ก็มีคำถามอีกว่า จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกสัตว์ยังคงต้องการนมน้ำเหลืองอยู่หรือไม่ เมื่อไรหยุดนมน้ำเหลืองได้ และเมื่อไรหยุดกินนม หรือหย่านมได้?
เราต้องรู้จักสัตว์เลี้ยงของเราให้ดีว่าเขาต้องการอะไร หากลูกสัตว์เกิดจากการผ่าตัด โดยปกติอย่างน้อยควรจะได้รับจากเต้านมของแม่1 วัน ลูกสัตว์เคี้ยวเอื้อง เมื่อตกลูกแล้วก็ควรจะได้รับในทันที 8 ชั่วโมงแรก แต่ก็มีหลายชนิดที่ต้องการระยะยาวนานกว่านั้น เช่นหนู ต้องการนมน้ำเหลืองนานถึง 16 วัน เม่นแคระนานกว่านั้นคือ 41 วัน แม้จะมีรายงานว่าเม่นแคระและสัตว์ใกล้เคียงทั้งหลาย ไม่มีความจำเป็นต้องได้รับเลย
หากลูกต้องกำพร้า การให้นมน้ำเหลืองจึงมีความสำคัญ โดยให้ได้ดังนี้
ในวันแรก และวันที่สอง หลังคลอด ผสมนมน้ำเหลืองและนมทดแทนนมแม่อย่างละ 50:50
และหลังจากนั้น ส่วนผสมลดลงเป็น 25:75
ให้จนกระทั้งหย่านม ในเม่นแคระหย่านมได้ที่อายุ 21 วัน หรือเริ่มมีฟันขึ้น เราตรวจดูหรือคลำได้ จากทั้งภายนอกและภายในช่องปาก สามารถหย่านมได้ และเริ่มเปลี่ยนให้อาหารอื่น แต่ถ้าจะให้ดีควรให้นมต่อไปจนถึงอายุเดือนครึ่งโดยประมาณ (5-7 สัปดาห์) โดยธรรมชาติแม้จะหย่านมเองแล้ว (แม่ไม่ยอมให้ดูดนม) ก็ยังไม่ควรจะแยกลูกออกจากแม่ ควรให้พักและเรียนรู้ด้วยกันต่อ 1-2 สัปดาห์ จึงเห็นว่าคนขายมักจะแยกแม่ลูกก่อนวัยอันควร และเอามาขายให้เรา หากจะเลือกมาเลี้ยงก็ขอให้ดูฟันเป็นเบื้องต้น ว่าได้รับนมน้ำเหลืองครบวันหรือยัง หลังจากนั้นก็เดาไว้ก่อนว่าอาจจะยังอยู่ในระยะให้นมทดแทน
มาศึกษาในเม่นแคระกันให้ชัดๆ ให้สมกับที่คนกลุ่มนี้เป็นคนตั้งคำถาม
นมทดแทนที่ดีที่สุดสำหรับเม่นแคระ (ณ ปัจจุบัน) คือ Esbilacทำการผสม Esbilac กับนมน้ำเหลืองอย่างละ 50:50 (หากไม่มียี่ห้อที่กล่าวถึง ลองสอบถามตามคลินิกครับ อาจจะมียี่ห้ออื่นๆ ทดแทนกันไป) ใน 24-48 ชั่วโมงแรก หลังจากนั้น เปลี่ยนอัตราส่วนเป็น 25:75 คือนมน้ำเหลือง 25 เปอร์เซ็นต์ ไปอีก 19 วัน (ควรจะได้รับนมน้ำเหลืองไปจนถึง 21 วันหากทำได้) จึงเปลี่ยนมาให้ Esbilac 100%
การป้อนโดยใช้ไซริงค์ขนาด 1 ซีซี ต่อเข้ากับยางของเข็มขนาด16G ที่ส่วนปลาย ก็เป็นเครื่องมือป้อนนมที่ดี โดยค่อยๆ ให้ เพราะเม่นแคระจะดูดช้าในระยะแรก และดูดซึมในทางเดินอาหารช้า ควรให้ทุก 2-3ชั่วโมง ทั้งกลางวันและกลางคืน อย่าปล่อยให้หิวหรือทิ้งระยะเวลาห่างกว่านั้น เมื่อน้ำหนักเพิ่มขึ้น 50 กรัม ให้ห่างขึ้นเป็น 3-4 ชั่วโมง และเมื่อ100 กรัม หรือมากกว่านี้ ก็เหลือเพียงวันละ 4 ครั้งก็พอ จะเห็นว่าการดูแลสัตว์กำพร้าเป็นงานที่หนักเอาการ
ให้จนกว่าฟันจะขึ้นมากพอที่จะกินอาหารอย่างอื่น หรือจนกว่าอายุเดือนครึ่งเป็นอย่างน้อย ซึ่งเรามักจะเรียกว่าเป็นระยะหย่านมจริงๆ หรือเรียนรู้การกินอาหาร โดยสามารถหัดให้กินได้นับแต่หยุดนมน้ำเหลือง พร้อมๆ กับการกินนมทดแทน ไม่ควรหยุดนมในทันที
ดังนั้น หากเราไปซื้อลูกสัตว์มา และไม่แน่ใจว่าหย่านมหรือถึงเวลาที่ควรจะแยกจากแม่หรือยัง ทั้งที่ฟันขึ้นแล้ว ควรให้นมทดแทนดังกล่าวได้เลย และลองให้กินอาหารอื่นๆ ไปพร้อมๆ จนกว่าเขาจะกินอาหารหลังหย่านมได้เอง ในปริมาณที่พอเพียง
อาหารหย่านมนั้นค่อยมาว่ากันอีกทีครับ เชื่อว่าผู้เลี้ยงนั้นคงรู้จักกันอย่างกว้างขวางแล้ว
โดย หมอแก้ว(ผศ.น.สพ.สมโภชน์ วีระกุล)
ที่เขียนบทความนี้ขึ้นมา เพราะมีผู้สอบถามผ่านคุณหมาป่าของเรา และส่งผ่านคำถามนั้นมาที่ผม มีดังต่อไปนี้
1. ควรให้นมอะไรเพื่อใช้แทนนมมารดา
2. ได้ยินมาว่าบางคนใช้นมแพะในการเลี้ยงดู อยากทราบถึงความเป็นไปได้ และข้อดีและข้อเสีย
3. เมื่อเปรียบเทียบกับซีรีแลค แล้วในเชิงข้อมูลทางโภชนาการให้ผลเป็นอย่างไร
4. นมแพะที่บรรจุกล่อง (ยี่ห้อศิริชัย) ใช้แทนได้หรือไม่
5. อยากทราบถึงข้อมูลในการดูลูกเม่น ที่สามารถขายได้ (เพื่อการเป็นข้อมูลในการเตือนผู้ที่ถูกหลอกขายเม่นยังไม่หย่านม) เช่นการดูลักษณะกายภาพหรือฟันเป็นต้น ขอรบกวนอาจารย์หมอแก้วอย่างสูง ในข้อมูลส่วนนี้ผมต้องการทราบเพื่อให้เป็นแนวทางต่อผู้ที่ถูกหลอก และเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการกันโดนหลอกต่อพี่น้องชาว HL (hedgehog lover) ต่อไป ขอบพระคุณอย่างสูง เอ็ดดี้
เป็นความเจตนาดีของท่านผู้นี้จริงๆ ครับ ดีใจที่ท่านมีเจตนาที่ดี โดยขึ้นหัวข้อแสดงถึงความเป็นตัวท่านเองว่า “ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงเม่นแคระกันอย่างกว้างขวางและมีผู้ที่ขายเม่นในช่วงวัยยังไม่หย่านมแม่กันบ่อยครั้ง สุดท้ายก็ตกมาเป็นปัญหาสำหรับเราชาวคนรักเม่น” ขอให้กลุ่มคนรักเม่นแคระเติบโต และเป็นที่พึ่งของผู้เลี้ยงมือใหม่ มือเก่ากันต่อไปครับ
แม้จะเป็นคำถามสำหรับกลุ่มรักเม่นแคระ แต่ผมก็เห็นว่าเป็นประโยชน์ที่กลุ่มสัตว์อื่นๆ จะนำไปใช้เป็นหลักการ และอนุญาตให้นำบทความที่ท่านเห็นว่าเป็นประโยชน์ ไปเผยแพร่หรือลงในเว็บไซต์ของท่านได้ โดยติดต่อผ่านคุณหมาป่า ผมขออาสาเป็นหมอตอบคำถามเป็นบางข้อ ส่วนบางข้อนั้นจะมีผู้รู้มากกว่ามาตอบ
http://www.epofclinic.com/wizContent.aspwizConID=146&txtmMenu_ID=7
โรงพยาบาลสัตว์
5-5/1 ถนนเทศบาลรังสฤษดิ์เหนือ
ประชานิเวศน์ 1 จตุจักร กทม. 10900
Tel. 0-2953-8085-6, 0-2591-3995,0-2591-3995
Fax. 0-2954-3597
E-mail. vet4@loxinfo.co.th
www.vet4polyclinic.com
หมออ้อย(นสพ.เชาวพันธ์)
จัน. 18.00-23.00
อัง. 09.00-17.00
พุธ 17.00-23.00
พฤ. 07.00-17.00
ศุก. -
ส. 16.00-22.00
อา. 23.00-09.00
*********************************************
โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ตั้งอยู่ด้านถนนพหลโยธิน ใกล้กับกรมส่งเสริมการเกษตร
เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 0-2942-8756-59
ต่อ 2118 (ในเวลาราชการ)
ต่อ 2155 (นอกวันเวลาราชการ)
ต่อ 2118 ประชาสัมพันธ์
เวลาให้บริการ
วันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี 08.30-15.30 น.
วันศุกร์ 08.30-11.00 น.
วันหยุดราชการ 08.30-11.00 น.
บริการตรวจรักษาสัตว์ฉุกเฉินนอกเวลา 18.00-20.00 น.
http://www.vet.ku.ac.th/bk_animhos/bk_anim_index.htm
*********************************************
โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
39 ถ.อังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร.+66(0) 2218 9750-1
*********************************************
โรงพยาบาลสัตว์ มข. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
123 ถนนมิตรภาพ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002
โทรศัพท์ 0-4336-4490, โทรสาร 0-4334-3081
*********************************************
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ อยู่ทองหล่อซอย 9 ถ.สุขุมวิท 55
โทรศัพท์ 0-2712-6301-4
เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงค่ะ www.thonglorpet.com *********************************************
คลินิกพายุรักษาสัตว์ 1470 ปากซอยอินทามาระ 26/2 เลียบถนนสุทธิสาร ดินแดง กทม.10320
เปิดทุกวัน 10.00-21.00น.ค่ะ เบอร์ติดต่อ 0-2693-7972
********************************
โรงพยาบาลสัตว์คุณหมอปานเทพ 356/7 ถนนศรีอยุธยา (ซอยศรีอยุธยา 3 ระหว่างโณงพยาบาลเดชากับโรงพยาบาลพญาไท1) พญาไท กทม.
ใกล้วังสวนผักกาด นั่งสาย 13,14,17,63,72,74,77,204,ปอ.13
เปิดจันทร์-ศุกร์17.00-19.00น.
เสาร์-อาทิตย์ 10.00-16.00น. (วันอาทิตย์เปิดเฉพาะตามนัด)
เบอร์โทร 0-2245-4946 กด 1
*********************************
สุขุมวิทสัตวแพทย์
เบอร์โทร 0-2391-9117, 0-2390-2622
เปิดจันทร์-ศุกร์ 8.00-21.00น.
เสาร์-อาทิตย์ 8.00-19.00น.
*********************************
คลินิกสัตวแพทย์ 44 ซอยเสือใหญ่อุทิศ ตรงข้ามกับสยามจัสโก้วังหิน
ให้บริการในและนอกสถานที่ เบอร์โทร 0-2570-8929, 081-484-2409
*********************************
ประชานิเวศน์ 1 จตุจักร กทม. 10900
Tel. 0-2953-8085-6, 0-2591-3995,0-2591-3995
Fax. 0-2954-3597
E-mail. vet4@loxinfo.co.th
www.vet4polyclinic.com
หมออ้อย(นสพ.เชาวพันธ์)
จัน. 18.00-23.00
อัง. 09.00-17.00
พุธ 17.00-23.00
พฤ. 07.00-17.00
ศุก. -
ส. 16.00-22.00
อา. 23.00-09.00
*********************************************
โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ตั้งอยู่ด้านถนนพหลโยธิน ใกล้กับกรมส่งเสริมการเกษตร
เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว
เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 0-2942-8756-59
ต่อ 2118 (ในเวลาราชการ)
ต่อ 2155 (นอกวันเวลาราชการ)
ต่อ 2118 ประชาสัมพันธ์
เวลาให้บริการ
วันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี 08.30-15.30 น.
วันศุกร์ 08.30-11.00 น.
วันหยุดราชการ 08.30-11.00 น.
บริการตรวจรักษาสัตว์ฉุกเฉินนอกเวลา 18.00-20.00 น.
http://www.vet.ku.ac.th/bk_animhos/bk_anim_index.htm
*********************************************
โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
39 ถ.อังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร.+66(0) 2218 9750-1
*********************************************
โรงพยาบาลสัตว์ มข. คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
123 ถนนมิตรภาพ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002
โทรศัพท์ 0-4336-4490, โทรสาร 0-4334-3081
*********************************************
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ อยู่ทองหล่อซอย 9 ถ.สุขุมวิท 55
โทรศัพท์ 0-2712-6301-4
เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงค่ะ www.thonglorpet.com *********************************************
คลินิกพายุรักษาสัตว์ 1470 ปากซอยอินทามาระ 26/2 เลียบถนนสุทธิสาร ดินแดง กทม.10320
เปิดทุกวัน 10.00-21.00น.ค่ะ เบอร์ติดต่อ 0-2693-7972
********************************
โรงพยาบาลสัตว์คุณหมอปานเทพ 356/7 ถนนศรีอยุธยา (ซอยศรีอยุธยา 3 ระหว่างโณงพยาบาลเดชากับโรงพยาบาลพญาไท1) พญาไท กทม.
ใกล้วังสวนผักกาด นั่งสาย 13,14,17,63,72,74,77,204,ปอ.13
เปิดจันทร์-ศุกร์17.00-19.00น.
เสาร์-อาทิตย์ 10.00-16.00น. (วันอาทิตย์เปิดเฉพาะตามนัด)
เบอร์โทร 0-2245-4946 กด 1
*********************************
สุขุมวิทสัตวแพทย์
เบอร์โทร 0-2391-9117, 0-2390-2622
เปิดจันทร์-ศุกร์ 8.00-21.00น.
เสาร์-อาทิตย์ 8.00-19.00น.
*********************************
คลินิกสัตวแพทย์ 44 ซอยเสือใหญ่อุทิศ ตรงข้ามกับสยามจัสโก้วังหิน
ให้บริการในและนอกสถานที่ เบอร์โทร 0-2570-8929, 081-484-2409
*********************************
โรงพยาบาลที่รักษาสัตว์เล็กอย่างน้องกระรอก
โรงพยาบาลสัตว์ปากช่อง เฟรนด์ แอนด์ ฟาร์ม
หมอที่รักษาเฉพาะทาง คือ น.สพ.วัชรินทร์ หินอ่อน
830/11 หน้าที่ว่าการอำเภอปากช่อง
ถ.มิตรภาพ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130
โทรศัพท์ 044-316-212, 09-865-8865
เวลาเปิดทำการ ทุกวัน 09.00 - 21.00 น.
------------------------------------------------------------
โรงพยาบาลลูกไม้สัตวแพทย์
เจ้าของสถานประกอบการและรักษา คือ น.สพ. นพดล สมบูรณ์เรศ
หมอที่รักษาเฉพาะทาง คือ สพ.ญ. จริยา สุตตานนท์ไพบูลย์
1/8 ถ. สนามบินพาณิชย์ (ร.ร. อุดรพิชัยรักษ์) ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000
โทรศัพท์ 042-346-396, 042-348-988, 081-717-3532
เวลาเปิดทำการ ทุกวัน 08.00 - 21.00 น.
แวะเยี่ยมและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.lookmai-animal-hospital.pantown.com/
-----------------------------------------------------------
คลินิกวศินสัตวแพทย์
หมอที่รักษาเฉพาะทาง คือ สพ.ญ. พัชรินทร์ สิงห์ใหม่
141/3 (หน้าโรงหนังเนวาด้า) ถ.สกลมาร์ค อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ 045-256-190, 09-947-0858
เวลาเปิดทำการ ทุกวัน 09.00 - 21.00 น.
------------------------------------------------------------ ---------------------------------
คลินิกทุ่งสงรักษ์สัตว์
หมอที่รักษาเฉพาะทาง คือ สพ.ญ. อรพรรณ อาจคำภา (หมอหน่อย)
151 ถ. ทุ่งสง-สุราษฎร์ (ตรงข้ามโรงเรียนสตรีทุ่งสง) ต. ปากแพรก อ. ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช 80110
โทรศัพท์ 084-1213654
เวลาเปิดทำการ ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ 17.00 - 20.00 น. เสาร์และอาทิตย์ 10.00 - 20.00 น.
------------------------------------------------------------ ---------------------------------
โรงพยาบาลสัตว์เล็ก
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ติดปั้มน้ำมัน ปตท., ถนนริมคลองชลประทาน
ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทร. 0-5394 8031
คลินิกสัตวแพทย์คลองสี่ สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : สพ.ญ.สุภาภรณ์ อุทุมพร
เลขที่ 2/42-43 (เยื้องหมู่บ้านอยู่เจริญ 2) ม.5 ถ.รังสิต-นครนายก ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12130
โทรศัพท์ : 083 - 994 8880
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน เวลา 8:30- 20:30 น. ============================================================ =======
ซีคอน เพ็ท พาร์ค คลินิก GP 22 - 23
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : หมอจากชมรมสัตวแพทย์สวนสัตว์และสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย
โครงการการ์เดนท์ มอลล์ ซอย โรงเรียนแก่นทองอุปภัมภ์ (ข้างซีคอน สแควร์) ถนนศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 โทรศัพท์ 083 - 064 1980
วันและเวลาทำการ: จันทร์-อาทิตย์ เวลา 10.00 - 21.00 น.
โรงพยาบาลสัตว์มัยลาภ
เลขที่ 15/15 ม.9 ซ.มัยลาภ ถ.รามอินทรา แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10230
โทรศัพท์ 02-860-1158 กด 4
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน 9.00 - 21.00 น.
====================================================
เอ็น.เค. สัตวแพทย์
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.นำดี แซ่เฮง
เลขที่ 96/240 ม.7 ถ.ท่าข้าม แสมดำ
บางขุนเทียน กรุงเทพฯ
โทรศัพท์ 02- 895 -6247
วันและเวลาทำการ : (กรุณาโทรนัดล่วงหน้า) จันทร์-ศุกร์ 18.30- 21.00 น. เสาร์-อาทิตย์ 9.00 -21.00 น. =======================================
โรงพยาบาลสัตว์คลองหลวง สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.ทวีศักดิ์ อนันต์ศิริวัฒนา
เลขที่ 49/22-23 หมู่ 7 ถ.คลองหลวง-บางขันธ์
ต.คลองสอง อ. คลองหลวง (ตลาดไทย) จ. ปทุมธานี
โทรศัพท์ 02- 516-1852
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน 09.00- 21.00 น.
==================================
โรงพยาบาลสัตว์บางนา
เลขที่ 232/2 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
โทรศัพท์ 02- 744-1899, 02- 744-1663
วันและเวลาทำการ : 24 ชั่วโมง ทุกวัน - กรุณาโทรนัดล่วงหน้า หมอเฉพาะทางเข้าตรวจ เฉพาะ วันพฤหัสบดี เวลา 17.00 -21.00 น.
====================================================
คลินิกรักษาสัตว์เกษสรี สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.สุพจน์ พิบูรณ์รัตนาวงศ์
เลขที่ 25/26 หมู่บ้านเกษสรี 2 ซอยรามคำแหง 124 ถนนสุขาภิบาล 3 กรุงเทพ 10240
โทรศัพท์ 02- 373 4712
วันและเวลาทำการ : จันทร์-ศุกร์ 10.00 - 21.oo น.
เสาร์-อาทิตย์ 9.00 - 21.00 น.
==================================
โรงพยาบาลสัตว์บางกรวย เลขที่ 64/87-89 ม.6 ใกล้ซอยทวีโรจน์ ถ.บางกรวย-ไทรน้อย
ต.บางกรวย อ.บางกรวย จ.นนทบุรี 11130 โทรศัพท์ : 02- 883 6259 วันและเวลาทำการ : กรุณาโทรนัดล่วงหน้า
==================================
http://www.ma-tang.com/bbs/portal.php
|
การดูเพศของน้องกระรอก
การดูเพศของน้องกระรอกค่ะ ภาพประกอบนั้นจำไม่ได้ว่าของใคร อิอิ หากเจ้าของภาพผ่านมาแวะบอกด้วยนะคะ กระรอกน้อยตัวผู้ สังเกตตรงแท่งยาวๆ และมีไข่เล็กๆ(ที่อีกหน่อยจะใหญ่มาก) ถัดไปถึงจะเป็นรูทวาร กระรอกน้อยตัวเมีย จะมีจุ๋มจิ๋มเล็กๆใกล้กับรูทวารเลย
http://www.ma-tang.com/bbs/forum.php?mod=viewthread&tid=2474
|
พัฒนาการของลูกกระรอก
พัฒนาการของลูกกระรอก
0-2 สัปดาห์
ช่วงนี้น้องกระรอกจะตัวแดงๆ จนถึงเริ่มไม่แดง แล้วก็จะยังไม่มีลายให้เห็นนัก
2-3 สัปดาห์
จะเริ่มเห็นสีของผิวหนังซึ่งจะเป็นบริเวณที่ ขนจะขึ้นเป็นลาย
3-4 สัปดาห์
เริ่มมีขึ้นเป็นสีๆขึ้นบริเวณที่เป็นลาย ของผิวหนังในตอนแรก
5-6 สัปดาห์
ขนจะเริ่มปุกปุย ทั้งลำตัวและ ที่หาง และตาเริ่มจะเปิด เมื่ออายุได้ 6-7 สัปดาห์ (สำหรับกระรอกตัวใหญ่ก็จะโตช้ากว่ากระรอกตัวเล็กๆ)
**ในที่นี้เป็นเกลย์สแควรอล หรือกระรอกสีเทา ของต่างประเทศ
10 สัปดาห์ขึ้นไป
จะกินอยากอื่นได้บ้างแล้วนอกจากนม แต่ก็ยังต้องให้นมเสริม
5 เดือน
น้องกระรอกก็เริ่มเป็นหนุ่มแล้วจ้า
เรียบเรียงจาก : http://www.geocities.com/squirrelcare/age.html
http://www.ma-tang.com/bbs/forum.php?mod=viewthread&tid=2470
0-2 สัปดาห์
ช่วงนี้น้องกระรอกจะตัวแดงๆ จนถึงเริ่มไม่แดง แล้วก็จะยังไม่มีลายให้เห็นนัก
2-3 สัปดาห์
จะเริ่มเห็นสีของผิวหนังซึ่งจะเป็นบริเวณที่ ขนจะขึ้นเป็นลาย
3-4 สัปดาห์
เริ่มมีขึ้นเป็นสีๆขึ้นบริเวณที่เป็นลาย ของผิวหนังในตอนแรก
5-6 สัปดาห์
ขนจะเริ่มปุกปุย ทั้งลำตัวและ ที่หาง และตาเริ่มจะเปิด เมื่ออายุได้ 6-7 สัปดาห์ (สำหรับกระรอกตัวใหญ่ก็จะโตช้ากว่ากระรอกตัวเล็กๆ)
**ในที่นี้เป็นเกลย์สแควรอล หรือกระรอกสีเทา ของต่างประเทศ
10 สัปดาห์ขึ้นไป
จะกินอยากอื่นได้บ้างแล้วนอกจากนม แต่ก็ยังต้องให้นมเสริม
5 เดือน
น้องกระรอกก็เริ่มเป็นหนุ่มแล้วจ้า
เรียบเรียงจาก : http://www.geocities.com/squirrelcare/age.html
http://www.ma-tang.com/bbs/forum.php?mod=viewthread&tid=2470
ความรู้เบื้องต้นในการเลี้ยงกระรอก
ความรู้เบื้องต้นในการเลี้ยงกระรอก
การเจริญพันธุ์ .. วัยเจริญพันธุ์ของกระรอกจะแตกต่างกันไป แล้วแต่สายพันธุ์ จะเริ่มตั้งแต่ 4 เดือน ถึง 2 ปี ระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 20-40 วัน จำนวนลูกไม่แน่นอน แต่ส่วนใหญ่ประมาณ 1-2 ตัว อายุขัยอาจจะสามารถยาวนานได้ถึง 10 ปี การเลี้ยงลูกกระรอก .. ลูกกระรอกจะเลี้ยงค่อนข้างยากเนื่องจาก ผู้ขายมักจะนำมาจากแม่ในธรรมชาติ มากกว่าที่จะมีการเพาะเลี้ยงได้เอง ดังนั้นจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพพอสมควร เพราะไม่ได้รับน้ำนมจากแม่มาอย่างเพียงพอ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้เลี้ยงกระรอกที่เล็กเกินไป ลูกกระรอกที่ยังไม่ลืมตาต้องมีการกระตุ้นให้ตาเปิดโดยใช้สำลี ชุบน้ำหมาดเช็ดที่ตามทุกวัน นอกจากนี้ต้องเช็ดที่ก้นด้วยเพื่อกระตุ้นการขับถ่าย อาหารลูกกระรอก .. ลูกกระรอกที่ยังไม่หย่านมจำเป็นต้องกินน้ำนม น้ำนมส่วนใหญ่ที่ให้กินจะเป็นนมผงสำหรับเด็กแรกเกิด หรือนมผงสำหรับเลี้ยงลูกสุนัข หรือกระต่าย หรือหนู นอกจากนี้อาจให้เป็นนมถั่วเหลืองได้ สำหรับนมวัวไม่แนะนำให้ใช้ เพราะมักจะเป็นสาเหตุให้กระรอกท้องเสียได้ เนื่องจากมีปริมาณน้ำตาลที่ลูกกระรอกไม่สามารถย่อยได้มาก อาจจะใช้นมแพะแทนได้ การชงนม ต้องชงใหม่ทุกครั้ง และไม่ให้นมที่ร้อนเกินไปแก่ลูกกระรอก การชงนมไม่ควรให้เข้มข้นเกินไปเพราะจะกินยาก และทำให้เกิดการท้องอืด หรือท้องเสียได้ การป้อนนมนิยมใช้กระบอกฉีดยาขนาดเล็กค่อยๆหยอดให้กิน อย่าให้เร็วหรือมากเกินไปในแต่ละครั้ง เพราะอาจทำให้สำลักได้ซึ่งจะส่งผลให้ลูกกระรอกเป็นปอดบวมได้ ลูกกระรอกควรได้กินนมประมาณ 5 ครั้งต่อหนึ่งวัน ในแต่ละครั้งไม่ควรให้จนอิ่มเกินไปเพราะจะทำให้ท้องอืดได้ สำหรับซีลีแลคไม่แนะนำให้ใช้ในการเลี้ยงกระรอก หรือควรหลีกเลี่ยงเนื่องจากมีแป้งมาก และสารอาหารไม่ครบถ้วน (แต่ถ้าน้องกระรอกชอบ จะใช้เป็นอาหารเสริมในกระรอกโตก็ได้ อิอิ) ที่อยู่ของลูกกระรอก .. ลูกกระรอกต้องการความอบอุ่นมากกว่ากระรอกโต ดังนั้นที่อยู่ของมันควรจะปราศจากลมพัด อากาศอบอุ่น ควรมีการตั้งหลอดไฟ เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ลูกกระรอก มีผ้าเพื่อให้ลูกกระรอกซุกตัว และปลอดภัยจากสัตว์อื่นรวมทั้ง เด็กที่อาจจะเข้ามารบกวน และอันตรายแก่ลูกกระรอกได้ การหย่านม .. ควรเริ่มให้อาหารอ่อนเมื่อเมื่อลูกกระรอกอายุประมาณ 2-3 เดือน แต่คนเลี้ยงไม่นิยมหย่านมลูกกระรอกเนื่องจากสามารถให้นมเป็นอาหารลูกกระรอกที่โตได้เช่นกัน จริงๆแล้วควรฝึกให้ลูกกระรอกเริ่มกินผลไม้ ผัก ใบไม้เป็นหลัก และให้นมเป็นอาหารเสริม เพราะจะช่วยให้กระรอกมีร่างกายที่แข็งแรงมากกว่า การอาบน้ำกระรอก .. ผู้เลี้ยงบางท่านชอบอาบน้ำให้กระรอก ซึ่งสามารถทำได้ แต่ควรจะเช็ดตัว และทำให้กระรอกตัวแห้งโดยเร็วเพื่อไม่ให้เป็นปอดบวม การอาบน้ำทำได้โดยใช้น้ำเปล่าอาบ หากจำเป็นต้องใช้แชมพูให้ใช้แชมพูของสุนัขที่อ่อนที่สุด โดยนำไปละลายน้ำให้เจือจางอีก 3-4 เท่า ก่อนอาบ โรคและการเจ็บป่วย .. • ท้องเสีย ลูกกระรอกต้องการความอบอุ่นมากกว่ากระรอกโต ดังนั้นที่อยู่ของมันควรจะปราศจากลมพัด อากาศอบอุ่น ควรมีการตั้งหลอดไฟ เพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้แก่ลูกกระรอก มีผ้าเพื่อให้ลูกกระรอกซุกตัว และปลอดภัยจากสัตว์อื่นรวมทั้ง เด็กที่อาจจะเข้ามารบกวน และอันตรายแก่ลูกกระรอกได้ • ปอดบวม อาการที่พบคือ หายใจลำบาก หอบ มีน้ำมูก ไอ เบื่ออาหาร เป็นต้น สาเหตุมักเกิดจาก อากาศเย็นเกินไป การอาบน้ำ ความเครียดจากการย้ายที่อยู่ หรือเปลี่ยนอาหาร โรคนี้มักจะทำให้กระรอกเสียชีวิตได้ การรักษา มักจะต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา รวมทั้งต้องมีการป้อนอาหารเพื่อไม่ให้กระรอกขาดอาหารมากเกินไปด้วย การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยาวนานเกินไปอาจส่งผลให้กระรอกท้องเสียได้ ถ้าเกิดอาการท้องเสียหลังจากรักษาปอดบวมหายแล้ว ให้ป้อนโยเกิร์ตเป็นอาหารแก่กระรอกเพื่อเป็นการเพิ่มแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ลดอาการท้องเสียได้
http://www.ma-tang.com/bbs/forum.php?mod=viewthread&tid=2471
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)